วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จงตอบคำถาม สำหรับนักเรียนชั้น ป.6

1. คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบต่างๆที่คล้ายคลึงกับมนุษย์อย่างไรบ้างจงอธิบาย
    1.คนที่เกิดมาใหม่ ก็เหมือนคอมพิวเตอร์ ที่ประกอบเสร็จ แต่ยังไม่ได้ใส่โปรแกรมอะไรเลยซัก
อย่างคนเกิดใหม่จะมีสัญชาตญาณ คือการปรับแต่งชีวิตให้อยู่รอด  เป็นไปโดยธรรมชาติ ติดมา
ด้วย ส่วนคอมพิวเตอร์ ที่ยังไม่มีข้อมูลอะไรเลย แต่ก็มี ไบออส เป็นสัญชาตญาณความจำเล็กๆ
ของคอมในการพัฒนาการของมันต่อไป เปรียบคล้ายสัญชาตญาณเหมือนกันกับคนที่รอการ
พัฒนาการต่อไป
  
     2.สมองคน มีหน้าที่ ควบคุมอวัยวะต่างๆของร่างกาย  มีหน้าที่  รับส่งข้อมูล  เก็บและปล่อย
ให้ความรู้สึกส่วนCPUกับฮาร์ดดิสก์ ก็เปรียบสมองของคอมพิวเตอร์ ต้องอยู่ด้วยกัน จึงจะเรียก
ว่าสมองคอมได้CPUรับหน้าที่ รับความรู้สึก เมื่อมีการรับส่งข้อมูล ประมวลผล  ถูกหรือผิดแล้ว
จึงส่งไปเก็บรวมไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ คอยดึงความจำเข้าออกจากฮาร์ดดิสมาใช้ตลอด ถ้าม่มีความ
จำจากฮาร์ดดิสก์เลยCPUก็  ไร้ค่า เหมือนคนมีความสามารถ แต่ไม่มีทุน มันก็ทำอะไรไม่ได้     3. ตาของคนเราที่มองเห็นภาพโน้นภาพนี้ ก็เปรียบ เหมือน จอภาพคอม ที่แสดงให้เราดูภาพ
โน้น ภาพนี้     4. เสียง หรือวาจาคน ก็เหมือนเสียงจากซาวด์การ์ด คอม นั่นแหล่ะ
    5.เมนบอร์ดก็เปรียบเหมือนร่างกายคนเรานี่แหละ เป็นที่รวมของแขนขาปากหูหัวคอคาง
    6.แรม เปรียบเหมือน อายตนะทั้ง6 หูตาจมูกลิ้นกายใจ เป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ รับความรู้สึกมาก่อนที่
จะตีความแล้วส่งไปที่สมอง แล้วเก็บไว้ ในฮาร์ดดิสก์ แรมนั้นเมื่อได้พบได้เห็น ไม่ว่าข้อมูลจาก
CDRomจากแฟรตไดร์ จากอินเตอร์เน็ต จากไดร์A จากฮาร์ดดิสก์ด้วยกัน แรมจะเข้ามาเสนอหน้า
รับเอาไว้ก่อนในชั้นแรก สัมผัสก่อน เก็บไว้ชั่วครู แล้วจึงส่งไปเก็บต่อไป แรมจึงคล้ายส่วนรับสัมผัส
 แต่ไม่ได้เก็บเอาไว้ รับส่งแล้วเก็บได้แป๊บเดียวก็ต้องส่งออกส่งเข้าอย่างเดียว

2. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับการสร้างหุ่นยนต์มาแทนมนุษย์ จงอธิบาย
     การสร้างหุ่นยนต์มาแทนมนุษย์ คือหุ่นยนต์จะทำงานโดยมีคนคอยออกคำสั่งให้ทำตามคำสั่งที่คนบังคับบอกเเต่มนุษย์จะทำอะไรก็จะมีสมองเเละจิตใจเป็นตัวควบคุมร่างกายให้รู้สึกตัวตลอดเวลา

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ

                         การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ


 1.การเก็บรวบรวมข้อมูล
        สมมตินักเรียนต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนในหมู่บ้านนักเรียนอาจ
เริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับ การไปสำรวจข้อมูลเพื่อให้ครอบครัวต่างๆในหมู่บ้าน
กรอกข้อมูลมีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวบ
รวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่างเช่นการใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ
ตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่าน ข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่ง ที่กรอกข้อมูล

2. การตรวจสอบข้อมูล
         เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจ
ทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้องและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่า
เชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย

3.  การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
         การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูล
ไม่ว่าในเรื่องอะไร ส่วนใหญ่จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็น
กลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

4.  การจัดเรียงข้อมูล
        ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงใน
ภายหลัง การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง

 5. การคำนวณ
          ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการ
คำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม

6.  การทำสำเนา  
         หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบ
ทางคอมพิวเตอร์ทำได้ ง่ายและรวดเร็ว

7. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล 
          เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่ายเทคโนโลยี
สื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วย
ให้การเผยแพร่ทำได้ กว้างขวางมากขึ้นขั้นตอนเหล่านี้เป็นขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ
 บางขั้นตอนเป็นการเก็บและตรวจสอบข้อมูลบางขั้นตอนเป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็น
สารสนเทศและบางขั้นตอนเป็นวิธีการจัดเก็บ สารสนเทศเพื่อประโยชน์ของการใช้งานในภายหลัง

 8. การจัดเก็บ            
       ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ  จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่  สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม






อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ

  อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ



                 แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (compact disc) คือแผ่นออฟติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน
ดีวีดี (อังกฤษ: Digital Versatile Disc; ชื่อย่อ DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า
เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด
ความเร็วในการเขียนแผ่นดีวีดี 1x มีค่าเท่ากับ 10.5 Mb/s หรือราวๆ 3.2 MB/s
เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี (DVD Writer) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี

   คุณสมบัติของวซีดี
  • ​สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 120 นาที
  • การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
  • สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)
  • มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
  • ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)
  • ทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
  • ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)
  • มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)

การทำงานของ DVD
ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากันทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก พิต สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "แลนด์" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออฟติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอะลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป


ร้านขาย แฟลช ไดร์ฟ แฮนดี้ ไดร์

แฟลชไดรฟ์
แฟลชไดรฟ์ (อังกฤษ: USB flash drive) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์มีความจุตั้งแต่ 1 GB ถึง 256GB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์ 98/ME/2000/XP/Vista แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์
แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง "ทัมบ์ไดรฟ์" "คีย์ไดรฟ์" "จัมป์ไดรฟ์ และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต


                                                         


ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษ: hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง
 

ประวัติ

ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน โดยมีความจุเริ่มแรกที่ 100kb มีขนาด 20 นิ้ว
ในปี ค.ศ. 1980 ฮาร์ดดิสก์เป็นสิ่งที่หายากและราคาแพงมาก แต่หลังจากนั้นฮาร์ดดิสก์กลายเป็นมาตรฐานของพีซีและราคาถูกลงมาก
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงของฮาร์ดดิสก์จากปี 1980 ถึงปัจจุบัน
  • ความจุเพิ่มขึ้น จาก 3.75mb เป็น 1tb (1000gb)
  • ขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก
  • ราคาต่อความจุถูกลงมาก
  • ความเร็วเพิ่มขึ้น

 ขนาดและความจุ

แนวโน้มในการเพิ่มขึ้นของการพัฒนาฮาร์ดดิสก์
ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 2 เทระไบต์
  • ขนาดความหนา 8 inch: 9.5 นิ้ว×4.624 นิ้ว×14.25 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร×117.5 มิลลิเมตร×362 มิลลิเมตร)
  • ขนาดความหนา 5.25 inch: 5.75 นิ้ว×1.63 นิ้ว×8 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร×41.4 มิลลิเมตร×203 มิลลิเมตร)
ขนาดฮาร์ดดิสในอดีต
รุ่นและขนาดฮาร์ดดิสตั้งแต่ 8″ 5.25″ 3.5″ 2.5″ 1.8″ และ 1″
ปัจจุบันภายในปี 2551 มีประเภทของฮาร์ดดิสก์ต่อไปนี้
  • ขนาดความหนาขนาดความหนา 3.5 นิ้ว = 4 นิ้ว×1 นิ้ว×5.75 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร×25.4 มิลลิเมตร×146 มิลลิเมตร) = 376.77344cm³
เป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop PC หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ Server ความเร็วในการหมุนจาน 10,000 7,200 5,400 RPM ตามลำดับ โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 GB ถึง 2 TB
  • ขนาดความหนา 2.5 = 2.75 นิ้ว× 0.374–0.59 นิ้ว×3.945 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร×9.5–15 มิลลิเมตร×100 มิลลิเมตร) = 66.3575cm³-104.775cm³
นิ้วเป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา Notebook , Laptop ,UMPC,Netbook, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา ความเร็วในการหมุนจาน 5,400 RPM โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 GB ถึง 320 GB
  • ขนาดความหนา1.8 นิ้ว: 54 มิลลิเมตร×8 มิลลิเมตร×71 มิลลิเมตร= 30.672cm³
  • ขนาดความหนา1 นิ้ว: 42.8 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×36.4 มิลลิเมตร
  • ขนาดความหนา0.85 นิ้ว: 24 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×32 มิลลิเมตร
ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี RAID รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS network attached storage เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SAN storage area network เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล

[แก้] หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์

ภายในฮาร์ดิสก์
  • หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
    • สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
    • สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
    • แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
    • ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 60 GB ถึง 4 TB ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
  • เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ
    • อัตราการไหลของข้อมูล (Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที
    • เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที

การเก็บข้อมูล

การเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์

ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น


วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์

                   กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์

    มนุษย์สร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาโดยกำหนดการทำงานให้เหมือนกับการทำงานของมนุษย์
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด


         1. พลังงานของคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์ใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้า  ซึ่งใช้แรงดัน
ไฟฟ้าต่างกัน  ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ต่อพ่วง  เช่น ซีพียู ใช้แรงดันต่ำกว่า 3 โวลต์  แผงวงจรหลักใช้แรงดัน  5 โวลต์  และอุปกรณ์ที่มีมอเตอร์ขับเคลื่อน  เช่น ฮาร์ดดิสก์  พัดลม  ใช้แรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์   ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้าจากกระแสไฟฟ้าในบ้านให้ลดต่ำลง  เรียกว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power supply)   และยังช่วยควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่อีกด้วย

       2. การรับรู้ คิด และโต้ตอบของคอมพิวเตอร์   คอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าได้หลายทางคล้ายมนุษย์  ข้อมูลที่รับเข้าจะถูกส่งไปที่ ซีพียู  เพื่อทำการประมวลผล   ข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว





3. หน่วยรับเข้า (Input Unit)   เป็นอุปกรณ์ในการนำข้อมูลคำสั่งหรือโปรแกรมเข้าสู่คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์  ได้แก่  แผงแป้นอักขระ หรือแป้นพิมพ์ (Keyboard)   เมาส์ (Mouse) 



v        แผงแป้นอักขระ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลทั้งตัวเลข  ตัวอักษร และ
สัญลักษณ์ต่าง ๆ  เข้าสู่คอมพิวเตอร์

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เเหล่งของข้อมูล

 
                                              แหล่งข้อมูล                                                   แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ                   
     1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการวบรวม             หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์             การสำรวจ   และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วย  เครื่องจักรอัตโนมัติ                 เช่น เครื่องอ่านรหัส แท่ง (บาร์โด้ด : Barcode) เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก
เครื่องอ่านรหัสแท่ง
            
       2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้     เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผล  เป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้า       และส่งออกสินค้า เป็นต้น   


                                                                                                                    
 สถิติข้อมูล


วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บล็อกของฉัน

ครั้งเเรกกับการเขียนบล็อก   เเล้วเราค่อยติดตามดูกันนะทุกคน